Author Archives: เฮียควง

ปั๊มดีเซล (Diesel pump)

ปั๊มดีเซล ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังน้ำมันส่งให้ หัวฉีด โดยจะควบคุมปริมาณน้ำมันและช่วงเวลา(Timing) ในการฉีดให้เหมาะสมกับความต้องการของเครื่องยนต์ในสภาวะต่างๆกันเช่น เวลาต้องการใช้กำลังมากๆ ในเวลาขึ้นทางชันหรือบรรทุกหนัก ก็ต้องจ่ายน้ำมันมาก เวลาลงเขาหรือเหยียบเบรค(มีการถอนคันเร่ง) ปั๊มก็จะหยุดการจ่ายน้ำมันเข้า หัวฉีด ปัจจุบันปั๊มดีเซลมี 2 แบบหลักๆ คือ 1.แบบกลไกควบคุม 2.แบบไฟฟ้าหรืออิเล็คทรอนิคควบคุม เช่นระบบEFI, คอมมอนเรล ปั๊มดีเซลแบบกลไกควบคุม มี 2 รูปแบบหลักๆคือ 1.1 ปั๊มแบบInline หรือแบบแถว ใช้ในเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1 สูบจนถึงเครื่องยนต์ขนาด 12 สูบที่ต้องการปริมาณน้ำมันมาก รอบเครื่องยนต์ไม่สูงมากนัก จะมีจำนวนลูกปั๊มที่เป็นตัวจ่ายน้ำมัน เท่ากับจำนวนสูบของเครื่องยนต์ มีใช้ตั้งแต่เครื่องยนต์รุ่นเก่า จนปัจจุบันยังใช้อยู่กับเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่เช่น รถสิบล้อ รถแบคโคร เครื่องปั่นไฟ เครื่องเรือเป็นต้น … Continue reading

Posted in ปั๊มดีเซล | ไม่ให้ใส่ความเห็น

คอมมอนเรล (Commonrail System)

คอมมอนเรล เป็นระบบการจ่ายน้ำมันดีเซล แบบรางร่วมที่นิยมใช้มากในเครื่องยนต์ดีเซลปัจจุบัน ที่สามารถสร้างแรงบิดและแรงม้าได้สูง   ในระบบคอมมอนเรลจะมีอุปกรณ์หลักๆคือ 1. ปั๊มแรงดันสูง สามารถสร้างแรงดันได้ 1,600-1,800bar ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต (ระบบกลไกลแบบเก่า แรงดันหัวฉีดอยู่ที่ 100-250bar)  แรงดันที่สูงนี้ทำให้น้ำมันแตกตัวเป็นละอองได้ดีกว่าการใช้หัวฉีดแบบเก่ามาก หรือที่เรียกว่า Fuel Atomisation 2. หัวฉีด จะทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเข้าห้องเผาไหม้ ให้น้ำมันเป็นฝอยละเอียดที่เล็กมากๆ ทำให้น้ำมันสามารถคลุกเคล้ากับอากาศได้ดี เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ 3. รางร่วม มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆยาวๆ ที่มีความหนามากเพื่อทนแรงดันที่สูง รางร่วมนี้จะรักษาความดันให้คงที่ และมีเซ็นเซอร์แรงดันติดอยู่ เพื่อส่งข้อมูลกลับไปECU บอกสภาวะของแรงดันที่รอบเครื่องต่างๆกัน 4. ชุดควบคุมอิเล็คทรอนิค(ECU)และอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ  ในระบบคอมมอนเรล จะใช้ปั๊มแรงดันสูงทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันสูง อัดน้ำมันเข้าสู่รางร่วม (Common rail) เพื่อรักษาแรงดันในระบบให้ทุกสูบเท่ากัน รอจังหวะการฉีดที่เหมาะสม ที่คำนวณจากหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ … Continue reading

Posted in ปั๊มดีเซล | ไม่ให้ใส่ความเห็น

เทอร์โบ (Turbo)

เทอร์โบ โดยปกติเครื่องยนต์จะดูดอากาศเอง โดยใช้การเลื่อนลงของลูกสูบเพียงอย่างเดียว ในปัจจุบันมีการใส่ เทอร์โบ เพื่อใช้เพิ่มอากาศให้เข้าเครื่องยนต์มากขึ้น เทอร์โบ มีใบพัด 2 ใบ คือใบพัดไอดีหรือ Compressor และใบพัดไอเสียหรือ Turbine มีแกนกลางเป็นตัวเชื่อมระหว่าง 2 ใบพัด ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน จะปล่อยแก๊ซไอเสียออกมาทางท่อร่วมไอเสีย ซึ่งแก๊สไอเสียก่อนจะถูกทิ้งไป จะปั่นใบพัดไอเสียให้เกิดการหมุน ทำให้ใบพัดไอดีหมุนไปพร้อมกัน ดูดอากาศผ่านไส้กรองอากาศ และอัดเข้าเครื่องยนต์ เพิ่มปริมาณอากาศเข้าเครื่องยนต์มากขึ้น ทำให้เครื่องยนต์เผาไหม้สมบูรณ์ ช่วยให้ประหยัดน้ำมัน เป็นการเพิ่มแรงม้าโดยไม่ต้องขยายปริมาตรดูดของเครื่องยนต์ ปัจจุบันผู้ผลิตรถเริ่มใช้ เทอร์โบ มากขึ้น จนพัฒนาเป็น เทอร์โบแปรผัน เรามาดูว่า เทอร์โบแปรผัน คืออะไร ต่างจาก เทอร์โบ ธรรมดาอย่างไร เทอร์โบแปรผัน … Continue reading

Posted in เทอร์โบ | Tagged | ไม่ให้ใส่ความเห็น

หัวฉีด (injector)

หัวฉีด มีหน้าที่ฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยละเอียด เข้าห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ละอองของน้ำมันดีเซลที่ละเอียดจะสามารถคลุกเคล้ากับอากาศได้ดี ทำให้น้ำมันถูกเผาไหม้ได้หมด ไม่มีเขม่าตกค้าง เครื่องยนต์ที่มีอายุการใช้งานมานาน จะเกิดคราบสกปรกที่ หัวฉีด การฉีดของหัวฉีดไม่เป็นฝอยละเอียด แรงดันหัวฉีดต่ำกว่ามาตรฐานหรือ หัวฉีด แต่ละตัวจ่ายน้ำมันไม่เท่ากัน มีผลให้น้ำมันเผาไหม้ไม่หมด มีควันดำ เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง กินน้ำมันผิดปกติ ในปัจจุบันเครื่องยนต์รุ่นใหม่จะเป็น หัวฉีด สปริง 2 ชั้น คือหัวฉีดกลไกที่มีสปริง 2 ตัว อยู่ในหัวฉีดตัวเดียวกัน ซึ่งใน หัวฉีด ธรรมดาจะ มีสปริง 1 ตัว มีแรงดันในการฉีดน้ำมันเพียงค่าเดียว แต่หัวฉีดสปริง 2 ชั้น จะมีแรงดันการฉีดน้ำมัน 2 ค่า โดยที่รอบเครื่องต่ำๆ … Continue reading

Posted in ปั๊มดีเซล | ไม่ให้ใส่ความเห็น

อินเตอร์คูลเลอร์ (Intercooler)

อินเตอร์คูลเลอร์ มีหน้าที่ระบายความร้อนของอากาศที่ออกมาจากการอัดของ เทอร์โบ ทำหน้าที่เหมือนหม้อน้ำที่ระบายความร้อนให้เครื่องยนต์ ในขณะที่ เทอร์โบ สร้างแรงดันประมาณ 1 bar ขึ้นไป อากาศที่ถูกอัดตัวจะมีอุณหภูมิสูงถึง 100-120 °c อากาศที่ร้อนเมื่อผ่าน อินเตอร์คูลเลอร์ จะทำให้อุณหภูมิต่ำลง (อากาศที่มีความร้อนสูง จะมีมวลอากาศน้อยหรือความหนาแน่นต่ำ ส่วนอากาศที่เย็นจะมีมวลอากาศมาก หรือความหนาแน่นสูง) เป็นการเพิ่มความหนาแน่นให้กับอากาศก่อนเข้ากระบอกสูบเครื่องยนต์ ทำให้ปริมาณอ๊อกซิเจนมีมากขึ้น ช่วยให้การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงสมบูรณ์ เครื่องยนต์จึงแรงขึ้น การติดตั้งควรอยู่ในที่รับลม เพื่อระบายความร้อนได้ดีที่สุด ต้องไม่บังการระบายความร้อนของหม้อน้ำที่อาจทำให้ความร้อนสูงขึ้น หรือแผงคอนเด็นเซอร์ในระบบแอร์ จะทำให้แอร์ไม่เย็น ท่อยางและเหล็กรัดควรใช้อย่างดีที่ออกแบบมาใช้กับงาน เทอร์โบ ต้องทนแรงดันและความร้อน เพราะถ้ามีการรั่วอาจทำให้กำลังเครื่องตกได้ การใช้ อินเตอร์คูลเลอร์ ที่หนาเกินไปอาจทำให้ลมผ่านทะลุไปที่หม้อน้ำได้ยาก (ปกติ อินเตอร์คูลเลอร์ จะอยู่หน้าหม้อน้ำ) ทำให้หม้อน้ำระบายความร้อนไม่ดี … Continue reading

Posted in เทอร์โบ | Tagged | ไม่ให้ใส่ความเห็น